วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ทดสอบกล้อง Canon PowerShot SX10 IS

อารมณ์นักถ่ายภาพกำลังกลับมาอีกครั้ง เสาร์ที่ผ่านมาเลยขอหยิบ Canon PowerShot SX10 IS เป็นกล้องคอมแพ็คที่ดูดีหน่อย ความระเอียด 10 ล้าน แต่เราใช้แค่ 4 ล้านพอลอง ๆ ดูก่อน มันเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้แต่ก็พอมีอะไรให้เล่นได้พอสมควร สามารถใช้โหมดแมนวล (M) ได้เป็นอย่างดี แต่ค่ารูรับแสง (F) ปรับได้ในช่วงสั้นไปหน่อย ถ้าซูมเต็มที่ก็ปรับค่า F ได้กว้างสุด ๆ แค่ 5.6 เอง ส่วนสปีดชัตเตอร์และค่า ISO ไม่มีปัญหาปรับได้แบบสบาย ๆ



ต้นไม้ดอกไม้หน้าบ้าน

F/5.6  1/125 Sec.  ISO-800


F/5.6  1/250 Sec.  ISO-800


ดอกไม้กับใบไม้หน้าบ้านนะครับ ขอลองซูมดูก่อนเลยก็ประมาณนี้ครับ อยากได้ชัดตื้นมาก ๆ กว่านี้อีก แต่กล้องมันทำได้แค่นี้นะ 5.6 เต็มทีแล้ว ก็ไม่เป็นไรเราอาศัยซูมเข้าไว้พอช่วยให้หลังเบอ ๆ ได้บ้าง แต่ งง ๆ ตัวเองนิดหน่อยทำไมตั้ง ISO ตั้ง 800 สงสัยช่วยให้เพิ่มแสงได้พอสมควร (1 หรือ 2 Stop) ถ้าไม่งั้นต้องเปลี่ยนสปีดชัดเตอร์กลายเป็น 1/60 แน่ ๆ เลย อาจมือสั่นได้เพราะไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้องครับ ค่า ISO เป็นความไวแสงนะครับ แต่มีผลกลับภาพเรื่องความนิ่มนวนหรือความคมชัดของภาพ โดยปกติถ้าอยากได้ภาพที่คมชัดก็อย่าใช้ ISO สูงมาก แค่ ๆ 100 หรือ 200 ประมาณนี้ครับ (ส่วนภาพที่ 2 ก็ถ่ายย้อนแสงเล่น ๆ)


สมาชิกจอมวุ่นวาย

กุ๊งกิ๊ง (เด็กใหม่เรา) F/5.6  1/60 Sec.  ISO-200

แพนด้า (แมวจิ๊กโก้ ชอบเกเรไปทั่ว) F/5.6  1/60 Sec.  ISO-200

สองรูปนี้แสงพอ ๆ กับภาพดอกไม้ด้านบนเลยครับ แต่ลองปรับ ISO ลงมา 2 Stop จาก 800 เป็น 200 ทำให้ต้องปรับสปีดชัตเตอร์ให้แสงมากขึ้นอีก 2 Stop จาก 1/250 เป็น 1/60 มันเสี่ยงกับภาพจะสั่งได้ แต่ดีนะที่ กุ๊งกิ๊งเค้าอยู่เฉย ๆ


แสงดาว (แมวขี้กลัว เค้าเป็นแม่ของแพนด้า) F/5.6  1/125 Sec.  ISO-200

รูปนี้ซูมเต็มที่เลยครับ แสงพอที่จะปรับให้สปีดชัตเตอร์เร็วได้ที่ 1/125 สำหรับนักถ่ายภาพมือใหม่อย่าปรับให้สปีดชัตเตอร์ช้ามากนะครับ มือจะสั่นได้ ยิ่งถ้าใช้ซูมเยอะๆ ยิ่งเสี่ยงกับภาพสั่นได้ง่ายครับ


หลังบ้านยามเย็น

F/5  1/250 Sec.  ISO-800


รูปนี้เย็น ๆ แล้ว และแสงก็น้อยด้วยครับ แถมลมยังพัดอีก ดอกหญ้าเราก็ไหว ๆ งานนี้ยังไงซะต้องใช้สปีดชัดเตอร์สูง ๆ แน่ จะได้จับภาพให้นิ่งได้ แต่พอสูงมากแสงจะไม่พออีก งั้นก็ยอมปรับ ISO ให้ให้สูงแล้วกันเนอะ (เป็นคำตอบสุดท้ายครับ)


F/8  1/500 Sec.  ISO-800


F/8  1/400 Sec.  ISO-800

พระอาทิตย์กำลังจะตกแล้วครับ อยากได้เฟรมอะไรมาอยู่ข้าหน้า งั้นก็ต้นไม้นี้แล้วกันเนอะ ภาพวิวต้องปรับให้ได้ชัดลึกที่สุดเท่าที่จะชัดได้ (ชัดตั้งแต่วัตถุที่อยู่ใกล้ ไปจนถึงวัตถุที่อยู่ไกล้) ดังนั้นค่ารูรับแสง (ค่า F) ต้องตั้งปรับให้แคบที่สุด อย่างน้อย ๆ ต้อง 8 หรือถ้าให้ดีก็ 16 ไปเลย สำหรับกล้องนี้ปรับได้เต็มที่ก็ 8 แต่ก็พอรับได้นะครับ

เฟรม (Frame) เป็นเทคนิคเบื้องต้นที่นักถ่ายภาพจะไม่ลืมที่จะนำมาใช้กัน ทำให้จุดสนใจเราดูดีขึ้นได้เหมือนกัน

ชัดตื้น เหมาะกับภาพบุคคลเดี่ยว ดอกไม้ จะทำให้ภาพเด่น เนื่องจากภาพพื้นหลังจะเบอ ต้องเปิดรูรับแสงกว้าง ๆ เช่น 2.8 , 1.4 สำหรับเลนส์ที่จะทำได้ก็ราคาแพง แต่มือสมัคเล่นจะสามารถใช้ซูมช่วยได้นะครับ

ชัดลึก เหมาะสำหรับภาพวิว บุคคลหมู่ ต้องทำการเปิดรูรับแสงแคบ ๆ เช่น 8 หรือ 16 เป็นต้น ส่วนใหญ่จะต้องใช้เลนส์วายกันเพื่อจะได้ภาพมุมกว้าง ๆ มันเป็นภาพที่ถ่ายง่ายนะครับ แต่สำคัญที่องค์ประกอบภายในภายว่าจะมีอะไรน่าสนใจ

สปีดชัตเตอร์เร็ว ๆ เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการจับการเคลื่อนไหว เช่นภาพกีฬา ถ้าเป็นมือใหม่แนะนำตั้งให้เร็ว ๆ ไว้ก่อน ป้องกันภาพสั่นไหว เริ่มต้นตั้งแต่ 1/125 , 1/250 ขึ้นไป ถ้าเราต้องการสปีดชัตเตอร์ช้ากว่าอาจจะเนื่องมาจากแสงไม่พอจริง ๆ ควรใช้ขาตั้งกล้องจะดีกว่า หรือบางสถานะการณ์ก็ใช้ Flash ไปเลยครับ

สปีดชัตเตอร์ต่ำๆ ก็มีต้องใช้นะครับ เช่น ภาพน้ำตกที่ต้องการให้น้ำมันเป็นละอองดูอ่อนไหว หรือภาพเงาดำ หรือไม่ก็ภาพไฟตอนกลางคืนที่เค้าชอบถ่ายกัน สำหรับเทคนิคการถ่ายภาพมันเยอะมาก ไม่จำกัดอยู่แค่ทฤษฎี เอาไว้ถ้ามีภาพอะไรน่าสนใจจะมาเล่าให้ฟังอีกนะครับ